วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แรงและการเคลื่อนที่ บทที่2

แรงและการเคลื่อนที่


แรง (force,(F)) หมายถึง สิ่งที่ไปกระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนทิศทาง เกิดการเคลื่อนที่หรือหรือหยุดนิ่งได้  แรงจึงมีหลายรูปแบบ
แรงชนิดต่างๆที่ควรรู้จัก
  1. แรงต้าน (resistance force)
แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ มีทิศทางตรงข้ามกับกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง เช่น แรงต้านของอากาศที่ทำให้วัตถุลงสู่พื้นดินช้าลง  หรือแรงเสียดทานของพื้นผิว
1-9
  1. แรงขนาน (parallel force)
แรงที่ขนานกัน อาจมีทิศทางเดียวกันหรือตรงข้ามกันก็ได้
1

  1. แรงดึงในเส้นเชือก (tension force)
เป็นแรงที่เกิดขึ้นในเส้นเชือกที่ถูกขึงตึง เพื่อต้านกับแรงกระทำเนื่องจากน้ำหนักของวัตถุ
Picture1
  1. แรงหมุน (rotational force)
แรงหมุน หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยหมุนรอบจุดหมุน ผลของการหมุน เรียกว่า โมเมนต์ (moment) เช่น การเปิด-ปิดหน้าต่าง การหมุนพวงมาลัยรถยนต์
Picture2
  1. แรงสู่ศูนย์กลาง (centripetal force)
แรงที่มีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลมหรือทรงกลม เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม
image
  1. แรงโน้มถ่วง (gravitational force)
แรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ เพื่อดึงดูดวัตถุนั้นเข้าสู่ศูนย์กลาง ของโลก ซึ่งเซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ได้ตั้ง  กฎความโน้มถ่วงดังนี้ “วัตถุทุกชนิดมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน แรงดึงดูดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนานของมวลและระยะห่างระหว่างวัตถุนั้น” โดยที่โลกมีแรงดึงดูดด้วยแรง 9.8 นิวตัน
49309
  1. แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
แรงกิริยา (action force) เป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้เกิดแรงกระทำตอบในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งเรียกว่า แรงปฏิกิริยา (reaction force)
เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ได้ตั้งกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ซึ่งกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 กล่าวว่า “แรงกิริยาทุกแรงจะทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากัน กระทำในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ”
a06c1
แรงเสียดทาน
หมายถึง แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุกับผิวของพื้น เช่น เมื่อเราเข็นรถเข็นเด็ก
Image
โมเมนต์ (moment)
โมเมนต์ เป็นผลคูณของแรงกับระยะทางในแนวตั้งฉากจากจุดที่แรงกระทำไปยังจุดหมุน
image (1)
แรงพยุงหรือแรงลอยตัว
แรงพยุงหรือแรงลอยตัวของของเหลวทุกชนิดที่กระทำต่อวัตถุที่จมในของเหลวจะเป็นไปตามกฎของอาร์คีมีดีส ซึ่งกล่าวไว้ว่า วัตถุที่จมในของเหลวหมดทั้งก้อนหรือจมแต่เพียงบางส่วน จะถูกแรงลอยตัวกระทำ และแรงลอยตัวจะเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่
n3-3
ความเร่ง
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่คงที่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าเพิ่มขึ้นเรียกว่า ความเร่ง ซึ่งมีค่าเป็นบวก (+) แต่ถ้าลดลงจากเดิมเรียกว่า ความหน่วง มีค่าเป็น (-)
f804
ผลของแรงลัพธ์
แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง ดังนั้น การหาแรงลัพธ์ที่เกิดจากการรวมกันระหว่างแรง 2 แรงขึ้นไป สามารถคำนวณแบบเวกเตอร์ได้ ซึ่งจะต้องรวมเวกเตอร์จำนวนที่มีอยู่ให้เป็นปริมาณเดียวกันเนื่องจากปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง ในการรวมเวกเตอร์จึงต้องวิเคราะห์ทิศทางของเวกเตอร์ที่นำมารวมกัน และเรียกเวกเตอร์ที่รวมกันว่า เวกเตอร์ลัพธ์
การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
– การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น โยนวัตถุขึ้นไปตรงๆ รถยนต์ กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
– การเคลื่อนที่ในแนวเส้นเส้นตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศด้วย เช่น รถแล่นไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน
images (2)

การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
การเคลื่อนที่แบบวงกลม หมายถึง การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ขณะนั้นมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลม เรียกว่า แรงเข้าสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เช่น การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
fgf
การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวราบ  เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุขนานกับพื้นโลก เช่น รถยนต์ที่กำลังแล่นอยู่บนถนน
pm1
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โพรเจกไทล์ภาษาอังกฤษ หมายถึง วัตถุที่ขว้างหรือยิงออกไป โดยจะสังเกตได้ว่ามีแนวการ เคลื่อนที่เป็นวิถีโค้ง โดยในบทเรียนจะถือว่าแรงต้านของอากาศน้อยมากจนไม่ต้องนำมาคิด การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เป็นการเคลื่อนที่ใน 2 มิติ คือเคลื่อนที่ในแนวระดับและแนวดิ่ง พร้อมกัน ในแนวดิ่งเป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลกในขณะที่แนวราบ ไม่มีความเร่ง
projectile
การเคลื่อนที่บนถนนโค้ง ในกรณีที่รถเลี้ยวโค้ง แรงเสียดทานที่พื้นถนนกระทำกับด้านข้างของยางรถจะเป็นแรงสู่ศูนย์กลาง ที่ทำให้รถยนต์เลี้ยวโค้งได้ และเนื่องจากแรงเสียดทานมีค่าจำกัดขึ้นกับสภาพถนน และยางรถ ดังนั้นแรงสู่ศูนย์กลางจึงมีค่าจำกัดด้วย หากถนนมีความโค้งขนาดหนึ่งอัตราเร็วที่รถวิ่งขณะเลี้ยวโค้งต้องไม่เกินกว่าแรงเสียดทานทิศสู่ศูนย์กลาง  หากอัตราเร็วเกินก็จะทำให้รถไถลออกนอกโค้งเกิดอันตรายได้ การเลี้ยวโค้งจะง่ายและปลอดภัยขึ้นหากพื้นถนนถูกยกให้ ขอบถนนด้านนอกสูงกว่าขอบด้านใน


แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ


แรง (force,(F)) หมายถึง สิ่งที่ไปกระทำต่อวัตถุแล้วทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนทิศทาง เกิดการเคลื่อนที่หรือหรือหยุดนิ่งได้  แรงจึงมีหลายรูปแบบ
แรงชนิดต่างๆที่ควรรู้จัก
  1. แรงต้าน (resistance force)
แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ มีทิศทางตรงข้ามกับกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ ทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดนิ่ง เช่น แรงต้านของอากาศที่ทำให้วัตถุลงสู่พื้นดินช้าลง  หรือแรงเสียดทานของพื้นผิว
1-9
  1. แรงขนาน (parallel force)
แรงที่ขนานกัน อาจมีทิศทางเดียวกันหรือตรงข้ามกันก็ได้
1

  1. แรงดึงในเส้นเชือก (tension force)
เป็นแรงที่เกิดขึ้นในเส้นเชือกที่ถูกขึงตึง เพื่อต้านกับแรงกระทำเนื่องจากน้ำหนักของวัตถุ
Picture1
  1. แรงหมุน (rotational force)
แรงหมุน หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยหมุนรอบจุดหมุน ผลของการหมุน เรียกว่า โมเมนต์ (moment) เช่น การเปิด-ปิดหน้าต่าง การหมุนพวงมาลัยรถยนต์
Picture2
  1. แรงสู่ศูนย์กลาง (centripetal force)
แรงที่มีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลมหรือทรงกลม เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม
image
  1. แรงโน้มถ่วง (gravitational force)
แรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ เพื่อดึงดูดวัตถุนั้นเข้าสู่ศูนย์กลาง ของโลก ซึ่งเซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ได้ตั้ง  กฎความโน้มถ่วงดังนี้ “วัตถุทุกชนิดมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน แรงดึงดูดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนานของมวลและระยะห่างระหว่างวัตถุนั้น” โดยที่โลกมีแรงดึงดูดด้วยแรง 9.8 นิวตัน
49309
  1. แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
แรงกิริยา (action force) เป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุ แล้วทำให้เกิดแรงกระทำตอบในทิศทางตรงกันข้าม ซึ่งเรียกว่า แรงปฏิกิริยา (reaction force)
เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) ได้ตั้งกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ซึ่งกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 กล่าวว่า “แรงกิริยาทุกแรงจะทำให้เกิดแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากัน กระทำในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ”
a06c1
แรงเสียดทาน
หมายถึง แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทานเกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุกับผิวของพื้น เช่น เมื่อเราเข็นรถเข็นเด็ก
Image
โมเมนต์ (moment)
โมเมนต์ เป็นผลคูณของแรงกับระยะทางในแนวตั้งฉากจากจุดที่แรงกระทำไปยังจุดหมุน
image (1)
แรงพยุงหรือแรงลอยตัว
แรงพยุงหรือแรงลอยตัวของของเหลวทุกชนิดที่กระทำต่อวัตถุที่จมในของเหลวจะเป็นไปตามกฎของอาร์คีมีดีส ซึ่งกล่าวไว้ว่า วัตถุที่จมในของเหลวหมดทั้งก้อนหรือจมแต่เพียงบางส่วน จะถูกแรงลอยตัวกระทำ และแรงลอยตัวจะเท่ากับน้ำหนักของของเหลวที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่
n3-3
ความเร่ง
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่คงที่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าเพิ่มขึ้นเรียกว่า ความเร่ง ซึ่งมีค่าเป็นบวก (+) แต่ถ้าลดลงจากเดิมเรียกว่า ความหน่วง มีค่าเป็น (-)
f804
ผลของแรงลัพธ์
แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ที่บอกทั้งขนาดและทิศทาง ดังนั้น การหาแรงลัพธ์ที่เกิดจากการรวมกันระหว่างแรง 2 แรงขึ้นไป สามารถคำนวณแบบเวกเตอร์ได้ ซึ่งจะต้องรวมเวกเตอร์จำนวนที่มีอยู่ให้เป็นปริมาณเดียวกันเนื่องจากปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง ในการรวมเวกเตอร์จึงต้องวิเคราะห์ทิศทางของเวกเตอร์ที่นำมารวมกัน และเรียกเวกเตอร์ที่รวมกันว่า เวกเตอร์ลัพธ์
การเคลื่อนที่ในหนึ่งมิติ
การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
– การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงที่ไปทิศทางเดียวกันตลอด เช่น โยนวัตถุขึ้นไปตรงๆ รถยนต์ กำลังเคลื่อนที่ไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง
– การเคลื่อนที่ในแนวเส้นเส้นตรง แต่มีการเคลื่อนที่กลับทิศด้วย เช่น รถแล่นไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง เมื่อรถมีการเลี้ยวกลับทิศทาง ทำให้ทิศทางในการเคลื่อนที่ตรงข้ามกัน
images (2)

การเคลื่อนที่แบบต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
การเคลื่อนที่แบบวงกลม หมายถึง การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เกิดขึ้นเนื่องจากวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ขณะนั้นมีแรงดึงวัตถุเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลม เรียกว่า แรงเข้าสู่ศูนย์กลางการเคลื่อนที่ จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบศูนย์กลาง เช่น การโคจรของดวงจันทร์รอบโลก
fgf
การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวราบ  เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุขนานกับพื้นโลก เช่น รถยนต์ที่กำลังแล่นอยู่บนถนน
pm1
การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โพรเจกไทล์ภาษาอังกฤษ หมายถึง วัตถุที่ขว้างหรือยิงออกไป โดยจะสังเกตได้ว่ามีแนวการ เคลื่อนที่เป็นวิถีโค้ง โดยในบทเรียนจะถือว่าแรงต้านของอากาศน้อยมากจนไม่ต้องนำมาคิด การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เป็นการเคลื่อนที่ใน 2 มิติ คือเคลื่อนที่ในแนวระดับและแนวดิ่ง พร้อมกัน ในแนวดิ่งเป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วงโลกในขณะที่แนวราบ ไม่มีความเร่ง
projectile
การเคลื่อนที่บนถนนโค้ง ในกรณีที่รถเลี้ยวโค้ง แรงเสียดทานที่พื้นถนนกระทำกับด้านข้างของยางรถจะเป็นแรงสู่ศูนย์กลาง ที่ทำให้รถยนต์เลี้ยวโค้งได้ และเนื่องจากแรงเสียดทานมีค่าจำกัดขึ้นกับสภาพถนน และยางรถ ดังนั้นแรงสู่ศูนย์กลางจึงมีค่าจำกัดด้วย หากถนนมีความโค้งขนาดหนึ่งอัตราเร็วที่รถวิ่งขณะเลี้ยวโค้งต้องไม่เกินกว่าแรงเสียดทานทิศสู่ศูนย์กลาง  หากอัตราเร็วเกินก็จะทำให้รถไถลออกนอกโค้งเกิดอันตรายได้ การเลี้ยวโค้งจะง่ายและปลอดภัยขึ้นหากพื้นถนนถูกยกให้ ขอบถนนด้านนอกสูงกว่าขอบด้านใน
circular17
https://kaewchem.wordpress.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น