วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

กำเนิดดวงดาว บทที่4




ปฏิกิริยาฟิชชั่นมีผลต่อกำเนิด ของดวงดาวหรือไม่ความจริงแล้ว ปฏิกิริยาที่มีผลต่อกำเนิดของ ดวงดาวคือปฏิกิริยาฟิวชั่น ปฏิกิริยาฟิชชั่นคือปฏิกิริยาที่ นิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ อย่างเช่น ยูเรเนียม แตกตัวออกโดยปล่อย พลังงานมหาศาลออกมาด้วย
ส่วนปฏิกิริยาฟิวชั่นคือปฏิกิริยาที่เกิดจากการรวมตัวกันของนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ และก็ ปล่อยพลังงานออกมาเช่นกัน กลุ่มก๊าซที่รวมตัวกันกลายเป็น กำเนิดของดวงดาวอย่างเช่นดวงอาทิตย์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นที่จุดศูนย์กลาง ซึ่งเรียกเหตุการณ์นี้ว่าการกำเนิดของดวงดาว แล้วก๊าซจำเป็นต่อกระบวนการ กำเนิดดวงดาวหรือไม่ ไม่มีการ ระบุชนิดของก๊าซลงไปแน่นอนนักว่า ชนิดใดที่จำเป็น อย่างเช่น ในกลุ่มดวงดาวหนึ่งๆ มีปริมาณ ก๊าซไฮโดรเจนอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งการที่ก๊าซไฮโดรเจนเกิดการรวมตัวกัน ที่จุดศูนย์กลางของกลุ่มก๊าซทำให้เกิด กระบวนการกำเนิดดวงดาวขึ้น แต่ถ้าในกลุ่มก๊าซใดที่มีก๊าซคาร์บอนอยู่มาก ก็สามารถเกิดการรวมตัว ของกลุ่มก๊าซ ที่ทำให้เกิดดวงดาวอีกชนิดหนึ่ง จะเห็นว่ากลุ่มก๊าซต่างชนิดกัน ก็จะให้กำเนิดดวงดาวที่แตกต่างกันด้วย อาจจะต่างกันในรูปของขนาด ที่มีทั้งใหญ่เล็ก หรือความสว่างของดวงดาว

ส่วนของกาแลกซี่ที่มีกำเนิดของดวงดาวมาก จะอยู่ในบริเวณที่กลุ่มเมฆของก๊าซที่หนาแน่นมาก ซึ่งกลุ่มเมฆที่มีความเหมาะสม ส่วนใหญ่แล้วจะมี ก๊าซไฮโดรเจนอยู่ด้วย เรียกว่า Molecular Clouds กลุ่มของดาวดวงใหม่ที่เกิดขึ้นจะพบเห็นมากใกล้ๆ Molecular Clouds ดวงดาวจะต้องมีความร้อนมากเท่าไร จึงจะถือกำเนิดขึ้นมาได้ หรืออักนัยหนึ่ง ก็คือที่อุณหภูมิเท่าไหร่ที่ปฏิกิริยาฟิวชั่น จะเกิดขึ้นคำตอบก็คือ ประมาณ 10 ล้านองศาเคลวิน หรือ 20 ล้านองศาฟาร์เรนไฮต์ ซึ่งที่อุณหภูมินี้มีผลต่อปฏิกิริยาฟิวชั่นที่เกิดขึ้นคือ นิวเคลียสของไฮโดรเจนซึ่งเป็นโปรตอน จะรวมตัวกันกับอีกตัวที่มีประจุไฟฟ้าเดียวกันแต่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประจุไฟฟ้า เหมือนกันจะผลักกัน การที่ไฮโดรเจน จะรวมตัวกันได้ตามปฏิกิริยาฟิวชั่นนั้น ต้องใช้ความเร็วอย่างสูงที่จะเอาชนะแรงผลักนั้นได้ เหมือนกับคุณมีลูกโป่ง อยู่รอบเอวของคุณ ทำให้คุณไม่สามารถ เอามือแตะผนังได้ ทางเดียวที่จะทำได้ก็คือ คุณจะต้องถอยหลัง และวิ่งอย่างเร็วและสุดแรงเพื่อที่จะเอาชนะแรงดันอากาศ ภายในลูกโป่งจนสามารถเอามือแตะผนังได้ เช่นเดียวกับดวงดาวที่โปรตอนหลายๆ ตัว ต่างวิ่งอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าใกล้กันมากที่สุด เมื่ออนุภาคของก๊าซมีความเร็วสูง ก็ทำให้เกิดความร้อนขึ้นสูงด้วย อุณหภูมิก็คือการวัดความเร็ว ในการเคลื่อนที่ของอนุภาคก๊าซนั่นเอง แล้วคุณคิดว่ากำเนิดของดวงดาว จะใช้เวลานานเท่าไหร่ การกำเนิด ดวงดาวอย่างดวงอาทิตย์นั้นใช้เวลา ยาวนานถึงหลายสิบล้านปี เมื่อกลุ่มก๊าซ ที่ทำให้เกิดดวงอาทิตย์มีความหนาแน่น ระหว่างดวงดาวมาก และมีรูปทรงกลม ที่มีรัศมีใหญ่มาก (เมื่อเปรียบเทียบกับ ดวงอาทิตย์) นาดของมัน จะเริ่มหดตัวและบีบแน่นขึ้นจนกระทั่งความร้อนเพิ่มขึ้นสูง ถึง 10 ล้านองศาเคลวินซึ่งทำให้เกิด ปฏิกิริยาฟิวชั่น การหดตัวนั้นจะเกิดขึ้นได้ เมื่อพื้นผิวของทรงกลมมีการสูญเสียพลังงาน (ไม่มีแสงสว่าง) วัตถุเริ่มอยู่นิ่งภายใต้น้ำหนักตัวของมันเอง เมื่ออุณหภูมิสูง ถึง 10 ล้านองศาเคลวิน ปฏิกิริยาฟิวชั่น เริ่มขึ้นจะมีการปล่อยพลังงานออกมา เป็นจำนวนมากซึ่งจะทดแทนพลังงาน ที่สูญเสียไปบริเวณพื้นผิว ซึ่งทำให้ รูปทรงกลมหยุดการ ดึงดูดกัน เริ่มเป็นดวงดาวเหมือนดวงอาทิตย์ กระบวนการการสูญเสียพลังงานและ หดตัวในขณะที่อุณหภูมิที่จุดศูนย์กลางสูงขึ้นเมื่อมีความดันมากขึ้น นี้ ใช้เวลา มากกว่า 10 ล้านปี จะเห็นว่าต้องใช้ระยะเวลายาวนาน กว่าที่ดวงดาวจะถือกำเนิดขึ้นมาได้ซึ่งมนุษยชาติก็เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของดวงดาวที่เกิดขึ้น ตลอดเวลา เนื่องจากอาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ของระบบสุริยจักรวาลที่เรากำลังอาศัยอยู่ก็ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น