วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560
ข้อสอบบทที่4
แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ระบบสุริยะ
|
คะแนนที่คุณทำได้= คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
|
การถ่ายฝากตัวอ่อน บทที่5
การถ่ายฝากตัวอ่อน
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การถ่ายฝากตัวอ่อน
การถ่ายฝากตัวอ่อน (อังกฤษ: embryo transfer) เป็นการนำตัวอ่อนที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างตัวอสุจิของพ่อพันธุ์และไข่ของแม่พันธุ์ที่คัดเลือกไว้ แล้วเก็บออกมาจากมดลูกของแม่พันธุ์ ต่อจากนั้นนำไปฝากใส่ไว้ให้เติบโตในมดลูกของตัวเมียอีกตัวหนึ่งจนคลอด
การถ่ายฝากตัวอ่อนประกอบด้วยสัตว์เพศเมียที่เป็นตัวให้ (donor) และตัวรับ (recipients) ซึ่งมีได้หลายตัว
ตัวให้จะเป็นแม่พันธุ์ที่คัดเลือกไว้ ซึ่งสัตว์บางประเภท เช่นโค กระบือ จะตกไข่ครั้งละ 1 ใบ แต่ถ้าต้องการให้ตกไข่มากขึ้น ก็ต้องใช้ฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ให้สร้างไข่ได้มากกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้แม่พันธุ์มีไข่ตกมากกว่าครั้งละ 1 ใบ เมื่อแม่พันธุ์สามารถตกไข่ได้ครั้งละหลายใบ ก็จะมีโอกาสผสมเป็นตัวอ่อนได้หลายตัวในคราวเดียวกัน
ตัวรับเป็นสัตว์เพศเมียที่ไม่ได้รับการเลือกเป็นแม่พันธุ์ ตัวรับมีได้หลายตัว เพื่อรับตัวอ่อนจากแม่พันธุ์ให้มาเจริญเติบโตในมดลูกของตัวรับจนถึงกำหนดคลอด ตัวรับจะต้องมีสภาพร่างกายที่เป็นปกติ มีมดลูกที่พร้อมจะรับการฝังตัวของตัวอ่อน ดังนั้น ตัวรับมักจะเป็นพันธุ์พื้นเมืองเพราะจะแข็งแรงกว่า ในบางกรณีก่อนการถ่ายฝากตัวอ่อนอาจต้องมีการฉีดฮอร์โมนให้ตัวรับ เพื่อเตรียมสภาพของมดลูกให้พร้อมที่ตั้งท้องตามปกติ
การถ่ายฝากตัวอ่อนจะช่วยทำให้ได้ตัวอ่อนจำนวนมากขึ้น ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้ง ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนสำคัญดังนี้
1. เลือกแม่พันธุ์ที่ดี แล้วกระตุ้นให้สร้างไข่และตกไข่ครั้งละหลายๆ ฟองด้วยการฉีดฮอร์โมน
2. เตรียมตัวเมียที่จะรับฝากตัวอ่อนโดยใช้ฮอร์โมนฉีดกระตุ้นให้มีความพร้อมที่จะตั้งท้อง
3. ทำการผสมเทียมโดยฉีดน้ำเชื้อของตัวผู้ที่เป็นพ่อพันธุ์เข้าไปในมดลูกของแม่พันธุ์ในช่วงไข่ตกในข้อ 1 หรือปล่อยให้ตัวผู้หรือพ่อพันธุ์ ผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติ ทำให้ไข่หลายฟองได้รับการปฏิสนธิแล้วเจริญกลายเป็นเป็นตัวอ่อนอยู่ในมดลูกหลายตัวพร้อมกัน
4. ใช้เครื่องมือดูดเอาตัวอ่อน ออกจากมดลูกของแม่พันธุ์มาตรวจสอบและคัดเลือกเอาเฉพาะตัวอ่อนที่สมบูรณ์ดี เท่านั้น โดยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก
5. นำตัวอ่อนที่ผ่านการตรวจสอบ และคัดเลือก แล้วนำไปใส่ฝากไว้ในมดลูกของตัวเมียที่เป็นตัวรับฝากตัวอ่อนที่ได้เตรียมไว้ โดยต้องใช้ตัวเมียเท่ากับจำนวนของตัวอ่อนที่จะถ่ายฝาก
ข้อดีของการถ่ายฝากตัวอ่อนหลังจากการถ่ายฝากตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ในมดลูกจนสมบูรณ์ดี จึงคลอดออกมาพร้อม ๆ กัน การถ่ายฝากตัวอ่อน มีข้อดี ดังนี้
1. ทำให้ได้ลูกจากพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์คู่เดียวจำนวนมากในการผสมพันธุ์กันเพียงครั้งเดียว
2. ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการผลิตสัตว์ได้เป็นอย่างดี
3. สามารถเก็บรักษาตัวอ่อนไว้ได้นานโดยการแช่แข็งซึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ถ่ายฝากให้กับตัวเมียอื่น ๆ ได้ทุกเวลาตามที่ต้องการ
4. ทำให้ได้สัตว์ที่มีลักษณะดีตามความต้องการในปริมาณมาก
กำเนิดดวงดาว บทที่4
ส่วนของกาแลกซี่ที่มีกำเนิดของดวงดาวมาก จะอยู่ในบริเวณที่กลุ่มเมฆของก๊าซที่หนาแน่นมาก ซึ่งกลุ่มเมฆที่มีความเหมาะสม ส่วนใหญ่แล้วจะมี ก๊าซไฮโดรเจนอยู่ด้วย เรียกว่า Molecular Clouds กลุ่มของดาวดวงใหม่ที่เกิดขึ้นจะพบเห็นมากใกล้ๆ Molecular Clouds ดวงดาวจะต้องมีความร้อนมากเท่าไร จึงจะถือกำเนิดขึ้นมาได้ หรืออักนัยหนึ่ง ก็คือที่อุณหภูมิเท่าไหร่ที่ปฏิกิริยาฟิวชั่น จะเกิดขึ้นคำตอบก็คือ ประมาณ 10 ล้านองศาเคลวิน หรือ 20 ล้านองศาฟาร์เรนไฮต์ ซึ่งที่อุณหภูมินี้มีผลต่อปฏิกิริยาฟิวชั่นที่เกิดขึ้นคือ นิวเคลียสของไฮโดรเจนซึ่งเป็นโปรตอน จะรวมตัวกันกับอีกตัวที่มีประจุไฟฟ้าเดียวกันแต่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าประจุไฟฟ้า เหมือนกันจะผลักกัน การที่ไฮโดรเจน จะรวมตัวกันได้ตามปฏิกิริยาฟิวชั่นนั้น ต้องใช้ความเร็วอย่างสูงที่จะเอาชนะแรงผลักนั้นได้ เหมือนกับคุณมีลูกโป่ง อยู่รอบเอวของคุณ ทำให้คุณไม่สามารถ เอามือแตะผนังได้ ทางเดียวที่จะทำได้ก็คือ คุณจะต้องถอยหลัง และวิ่งอย่างเร็วและสุดแรงเพื่อที่จะเอาชนะแรงดันอากาศ ภายในลูกโป่งจนสามารถเอามือแตะผนังได้ เช่นเดียวกับดวงดาวที่โปรตอนหลายๆ ตัว ต่างวิ่งอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าใกล้กันมากที่สุด เมื่ออนุภาคของก๊าซมีความเร็วสูง ก็ทำให้เกิดความร้อนขึ้นสูงด้วย อุณหภูมิก็คือการวัดความเร็ว ในการเคลื่อนที่ของอนุภาคก๊าซนั่นเอง แล้วคุณคิดว่ากำเนิดของดวงดาว จะใช้เวลานานเท่าไหร่ การกำเนิด ดวงดาวอย่างดวงอาทิตย์นั้นใช้เวลา ยาวนานถึงหลายสิบล้านปี เมื่อกลุ่มก๊าซ ที่ทำให้เกิดดวงอาทิตย์มีความหนาแน่น ระหว่างดวงดาวมาก และมีรูปทรงกลม ที่มีรัศมีใหญ่มาก (เมื่อเปรียบเทียบกับ ดวงอาทิตย์) นาดของมัน จะเริ่มหดตัวและบีบแน่นขึ้นจนกระทั่งความร้อนเพิ่มขึ้นสูง ถึง 10 ล้านองศาเคลวินซึ่งทำให้เกิด ปฏิกิริยาฟิวชั่น การหดตัวนั้นจะเกิดขึ้นได้ เมื่อพื้นผิวของทรงกลมมีการสูญเสียพลังงาน (ไม่มีแสงสว่าง) วัตถุเริ่มอยู่นิ่งภายใต้น้ำหนักตัวของมันเอง เมื่ออุณหภูมิสูง ถึง 10 ล้านองศาเคลวิน ปฏิกิริยาฟิวชั่น เริ่มขึ้นจะมีการปล่อยพลังงานออกมา เป็นจำนวนมากซึ่งจะทดแทนพลังงาน ที่สูญเสียไปบริเวณพื้นผิว ซึ่งทำให้ รูปทรงกลมหยุดการ ดึงดูดกัน เริ่มเป็นดวงดาวเหมือนดวงอาทิตย์ กระบวนการการสูญเสียพลังงานและ หดตัวในขณะที่อุณหภูมิที่จุดศูนย์กลางสูงขึ้นเมื่อมีความดันมากขึ้น นี้ ใช้เวลา มากกว่า 10 ล้านปี จะเห็นว่าต้องใช้ระยะเวลายาวนาน กว่าที่ดวงดาวจะถือกำเนิดขึ้นมาได้ซึ่งมนุษยชาติก็เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของดวงดาวที่เกิดขึ้น ตลอดเวลา เนื่องจากอาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ของระบบสุริยจักรวาลที่เรากำลังอาศัยอยู่ก็ได้
ข้อสอบบทที่1
|
ข้อบสอบบทที่2
แบบทดสอบ
เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่
ข้อที่ 1)
สาเหตุที่ทำให้เครื่องกลมีประสิทธิภาพมนการทำงานต่ำ คืออะไร
แรงดึงน้อย
แรงเสียดทานมาก
แรงกดน้อย
แรงพยายามน้อย
ข้อที่ 2)
แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเรียกว่าอะไร
แรงดึง
แรงกด
สัมประสิทธิ์
แรงเสียดทาน
ข้อที่ 3)
เหตุใดยางรถยนต์จึงมีลวดลายและผิวขรุขระ
เพิ่มแรงเสียดทาน
ลดแรงเสียดทาน
ให้ความสวยงาม
สะดวกสบายเวลาเปลี่ยนยาง
ข้อที่ 4)
กรณีใดเป็นการเพิ่มแรงเสียดทาน
บุชในพัดลม
ตลับลูกปืนที่ล้อ
รองเท้าไม้
ยางรถยนต์
ข้อที่ 5)
เมื่อรถวิ่งไปข้างหน้า แรงเสียดทานของถนนจะมีทิศทางใด
ทิศทางตรงข้ามกับรถวิ่ง
ทิศทางเดียวกับรถวิ่ง
ทิศทางไม่แน่นอน
พื้นถนนมีแรงเสียดทานทุกทิศทาง
ข้อที่ 6)
เหตุการณ์ใดสนับสนุนข้อความที่ว่า ถ้าไม่มีแรงเสียดทานรถจะแล่นไม่ได้
รถที่วิ่งขึ้นเขา ต่องเร่งเครื่องมากกว่ารถที่แล่นในที่ราบ
ขณะรถวิ่งลงจากเขา เมื่อดับเครื่องรถยังวิ่งต่อไปได้
เมื่อรถวิ่งผ่านถนนที่มีน้ำมันเครื่องหกอยู่เต็ม รถจะหมุนคว้าง
รถที่แล่นเร็วจะต้องใช้ระยะเบรคไกลกว่ารถที่แล่นช้า
ข้อที่ 7)
ยานพาหนะใดที่มีอัตราการสูญเสียพลังงานขับเฉื่อยมาจากแรงเสียดทานพาหนะขณะเคลื่อนที่มากที่สุด
รถยนต์
เรือ
ยานอวกาศ
เครื่องบิน
ข้อที่ 8)
วัตถุหนัก 2 กิโลกรัม วางบนพื้นราบ ที่มีค่าแรงเสียดทาน 2 นิวตัน เมื่อออกแรงดึงตามแนวราบ วัตถุเริ่มเคลื่อนที่พอดี จงหาสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน (1 กิโลกรัม = 10 นิวดัน)
0.1
1
10
40
ข้อที่ 9)
เมื่อออกแรงดึงท่อนไม้หนัก 1 กิโลกรัม ด้วยแรง 5 นิวตัน ท่อนไม้เริ่มเคลื่อนที่ จงหาสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
0.2
0.5
2
5
ข้อที่ 10)
เครื่องกลมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำมักมีสาเหตุมาจากอะไร
แรงเสียดทานมากเกินไป
แรงพยายามน้อยไป
งานที่ใช้มากกว่างานที่ให้
ถูกทุกข้อ
สาเหตุที่ทำให้เครื่องกลมีประสิทธิภาพมนการทำงานต่ำ คืออะไร
แรงดึงน้อย
แรงเสียดทานมาก
แรงกดน้อย
แรงพยายามน้อย
ข้อที่ 2)
แรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุเรียกว่าอะไร
แรงดึง
แรงกด
สัมประสิทธิ์
แรงเสียดทาน
ข้อที่ 3)
เหตุใดยางรถยนต์จึงมีลวดลายและผิวขรุขระ
เพิ่มแรงเสียดทาน
ลดแรงเสียดทาน
ให้ความสวยงาม
สะดวกสบายเวลาเปลี่ยนยาง
ข้อที่ 4)
กรณีใดเป็นการเพิ่มแรงเสียดทาน
บุชในพัดลม
ตลับลูกปืนที่ล้อ
รองเท้าไม้
ยางรถยนต์
ข้อที่ 5)
เมื่อรถวิ่งไปข้างหน้า แรงเสียดทานของถนนจะมีทิศทางใด
ทิศทางตรงข้ามกับรถวิ่ง
ทิศทางเดียวกับรถวิ่ง
ทิศทางไม่แน่นอน
พื้นถนนมีแรงเสียดทานทุกทิศทาง
ข้อที่ 6)
เหตุการณ์ใดสนับสนุนข้อความที่ว่า ถ้าไม่มีแรงเสียดทานรถจะแล่นไม่ได้
รถที่วิ่งขึ้นเขา ต่องเร่งเครื่องมากกว่ารถที่แล่นในที่ราบ
ขณะรถวิ่งลงจากเขา เมื่อดับเครื่องรถยังวิ่งต่อไปได้
เมื่อรถวิ่งผ่านถนนที่มีน้ำมันเครื่องหกอยู่เต็ม รถจะหมุนคว้าง
รถที่แล่นเร็วจะต้องใช้ระยะเบรคไกลกว่ารถที่แล่นช้า
ข้อที่ 7)
ยานพาหนะใดที่มีอัตราการสูญเสียพลังงานขับเฉื่อยมาจากแรงเสียดทานพาหนะขณะเคลื่อนที่มากที่สุด
รถยนต์
เรือ
ยานอวกาศ
เครื่องบิน
ข้อที่ 8)
วัตถุหนัก 2 กิโลกรัม วางบนพื้นราบ ที่มีค่าแรงเสียดทาน 2 นิวตัน เมื่อออกแรงดึงตามแนวราบ วัตถุเริ่มเคลื่อนที่พอดี จงหาสัมประสิทธิ์ของแรงเสียดทาน (1 กิโลกรัม = 10 นิวดัน)
0.1
1
10
40
ข้อที่ 9)
เมื่อออกแรงดึงท่อนไม้หนัก 1 กิโลกรัม ด้วยแรง 5 นิวตัน ท่อนไม้เริ่มเคลื่อนที่ จงหาสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
0.2
0.5
2
5
ข้อที่ 10)
เครื่องกลมีประสิทธิภาพในการทำงานต่ำมักมีสาเหตุมาจากอะไร
แรงเสียดทานมากเกินไป
แรงพยายามน้อยไป
งานที่ใช้มากกว่างานที่ให้
ถูกทุกข้อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)